ประวัติปู่เทพตาปะขาว เป็นตำนานสืบเนื่องมาจากการสร้างพระพุทธชินราช ตามพงศาวดารกล่าวว่าพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก หรือพระมหาธรรมราชา พญาลิไท รัชกาลที่ ๔ ในราชวงศ์พระร่วงกรุงสุโขทัยนั่นเองที่เป็นผู้สร้างพระพุทธชินราช เมื่อราว พ.ศ. ๑๙๐๐ โดยสมเด็จพระเจ้ากรุงศรีสัชนาลัยได้ส่งช่างพราหมณ์ฝีมือดี ๕ นาย ชื่อบาอินทร์ บาพราหมณ์ บาพิษณุ บาราชสิงห์และบาราชกุศล พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก โปรดให้ช่างสวรรค์โลก ช่างเชียงแสนและช่างหริภุญไชยสมทบกับช่างจากกรุงศรีสัชนาลัยช่วยกันหล่อพระพุทธรูปขนาดใหญ่ทั้ง ๓ องค์ มีทรวดทรงสัณฐานคล้ายกันคือ
พระองค์ที่ ๑ ตั้งพระนามเริ่มไว้ว่า “พระพุทธชินราช” มีขนาดหน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๑ คืบ ๕ นิ้ว มีเศียรสูง ๗ ศอก พระเกศสูง ๑๕ นิ้ว เป็นปางมารวิชัย
พระองค์ที่ ๒ ตั้งพระนามเริ่มไว้ว่า “พระพุทธชินสีห์” มีขนาดหน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๔ นิ้ว เป็นปางมารวิชัย
พระองค์ที่ ๓ ตั้งพระนามเริ่มไว้ว่า “พระศรีศาสดา” มีขนาดหน้าตักกว้าง ๔ ศอก ๑ คืบ ๖ นิ้ว เป็นปางมารวิชัย
จวบจนวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ปี เถาะ จุลศักราช ๗๑๗ ราว พ.ศ. ๑๘๙๘ ได้มงคลฤกษ์ กระทำพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์และเมื่อเททองหล่อเสร็จแล้วกระทำการแกะพิมพ์ออก ปรากฏว่า พระองค์ที่ ๒ คือ พระพุทธชินสีห์ และองค์ที่ ๓ คือ พระศรีศาสดา องค์พระบริบูรณ์ดีมีน้ำทองแล่นติดตลอดเสมอกันสวยงามสององค์เท่ากัน ส่วนพระพุทธชินราชนั้น ทองแล่นติดไม่เต็มองค์ไม่บริบูรณ์นับว่าเป็นที่อัศจรรย์ของช่างและผู้มาร่วมพิธีเป็นอันมาก ช่างได้ช่วยกันทำหุ่นและเททองอีก ๓ ครั้งก็ไม่สำเร็จเป็นองค์พระได้ คือทองแล่นไม่ติดเต็มองค์
พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกทรงรู้สึกประหลาดพระทัยยิ่งนัก พระองค์จึงทรงตั้งสัตยาธิษฐานเสี่ยงเอาบุญบารมีของพระองค์เป็นที่ตั้งอีกทั้งขอให้ทวยเทพยดาจงช่วยดลใจให้สร้างพระพุทธรูปสำเร็จตามพระประสงค์เถิด แล้วพระองค์พร้อมทั้งทวยราษฎร์พร้อมกันรักษาศีล ๘ และศีล ๕ อย่างเคร่งครัด และได้ให้ช่างปั้นหุ่นใหม่อีกครั้งหนึ่ง ในกาลครั้งนี้ปรากฏว่ามี “ตาปาว” คนหนึ่ง
ไม่มีผู้ใดทราบว่าชื่อใดมาจากไหนได้เข้ามาสมัครเป็นนายช่างใหญ่
ช่วยปั้นหุ่นและช่วยเททอง ทำการงานอย่างแข็งแรง ทั้งกลางวันและกลางคืน
จนเสร็จโดยไม่ยอมพูดจากับผู้ใด ครั้นได้มหามงคลฤกษ์
ณ วันพฤหัสบดี ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง นับเวลาห่างจากครั้งแรกเป็นเวลา ๒ ปี
นพศกจุลศักราช ๗๑๙ (พระพุทธศาสนาล่วงแล้ว ๑๙๐๐)
ก็ได้ประกอบพิธีเททองหล่อพระพุทธชินราช
คราวนี้ทองก็แล่นเต็มบริบูรณ์ตลอดทั้งองค์พระ พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกทรงปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่งจึงตรัสให้หา
“ตาปะขาว” ผู้มาช่วยปั้นหุ่นและช่วยเททองนั้น แต่มิได้พบ
ปรากฏว่าเมื่อหล่อพระเสร็จแล้วก็เดินออกทางประตูเมืองข้างทิศเหนือและได้หายตัวกลับวิมานไป
ณ วัดตาปะขาวหายแห่งนี้ ส่วนวัดตรงที่
“องค์เทพตาปะขาว” ไปหายนั้น เดิมเป็นวัดเก่าแก่
ซึ่งมีซากโบสถ์เก่าๆ และบัดนี้ได้พังลงแม่น้ำน่านไปแล้ว
วัดเก่าชื่ออะไรไม่ปรากฏแน่นอน แต่มีชื่อหนึ่งคือ “วัดเตาไห”
และหมู่บ้านเตาไห
นับว่าเป็นแหล่งผลิตหม้อและไห เหนือหมู่บ้านเตาไหเล็กน้อยมีหมู่บ้านหนึ่งเรียกว่า
บ้านหม้อ สันนิษฐานว่าเป็นบ้านที่ปั้นหม้อปั้นไห แล้วส่งมาเผาที่บ้านเตาไห
เพราะหลังจากที่ชาวออสเตเลียได้สำรวจพบว่าที่วัดตาปะขาวหายปัจจุบันมีเตาเก่า
รุ่นก่อนชะเลียงของสุโขทัย พบว่ามีประมาณ ๕๐ เตาเรียงเป็นแถวยาว
บางเตามีลักษณะซ้อนกันแสดงให้เห็นถึงความเคลื่อนที่ของผิวโลก
ซึ่งต้องอาศัยเวลาอันยาวนาน สันนิษฐานหนึ่งว่า
พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกได้โปรดให้สร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงองค์เทพเทวดาตาปะขาว
เรียกชื่อว่า “วัดตาปะขาวหาย” ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔
ได้มีผู้พบพระทองคำขนาดต่างๆหน้าตักตั้งแต่ ๓-๕ นิ้ว จำนวน ๒๐ กว่าองค์
ซึ่งไหลออกมาจากริมตลิ่งแม่น้ำน่านบริเวณที่เป็นโบสถ์เก่า
ที่มาของวัด ภายหลังวัดที่
“ตาปะขาว” ไปหายนั้นได้ชื่อว่า “วัดตาปะขาวหาย” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
และจากวัดตาปะขาวหายขึ้นไปทางทิศเหนือ ๘๐๐ เมตร
ได้ปรากฏหลักฐานสำคัญที่ทำให้เชื่อได้ว่า “องค์เทพตาปะขาว” ได้หายไปจริง
เพราะมีผู้พบเห็นว่าท้องฟ้าเป็นช่อขึ้นไป ชาวบ้านได้สร้างศาลาขึ้นไว้ เรียกว่า “ศาลาช่องฟ้า”
มาจนถึงปัจจุบันนี้
ณ ที่นั้นมีบ่อน้ำใสสะอาด ซึ่งชาวบ้านได้ใช้ดื่มกินกันมาโดยตลอด ตราบเท่าทุกวันนี้ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงเทพเจ้า “ตาปะขาว” ทางวัดตาปะขาวหายโดยอดีตท่านเจ้าอาวาส
คือพระครูนิวิฐบุญสาร (บุญจันทร์ อุชุโก) ได้ให้พระบุญทิว บูรณเขตต์
อดีตช่างปั้นฝีมือดีของจังหวัดพิษณุโลกสร้างรูปปั้น “เทพตาปะขาว”
ด้วยปูนพลาสเตอร์เป็นรูปแรก
และต่อมาได้สร้างด้วยทองสัมฤทธิ์ “เทพตาปะขาว” ประดิษฐานไว้ที่ศาลเทพตาปะขาว
ณ วัดตาปะขาวหายและได้เคยแสดงอภินิหารให้ปรากฏหลายครั้งหลายหน จึงเป็นที่เคารพ
ศรัทธาของชาวบ้านและบุคคลทั่วไปเป็นอันมากจนถึงทุกวันนี้ ได้รับประกาศตั้งวัดขึ้น
ในสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด เดิมวัดเก่าแก่มาก ตามทะเบียนระบุไว้ พ.ศ. ๑๙๐๐
ได้รับการจดทะเบียนวัด
วัดตาปะขาวหาย เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย
ตั้งอยู่ในตำบลหัวรอ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ความเป็นมาของวัดตาปะขาวหาย วัดตาปะขาวหาย ตั้งอยู่เลขที่ ๔ หมู่ ๔ ตำบลหัวรอ อำเภอเมือง
จังหวัดพิษณุโลก สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกายเดิมชาวบ้านเรียกว่า “วัดเตาไห”
เพราะเป็นหมู่บ้านที่ปั้นเตาและไห
ผลิตส่งออกขายภายในประเทศและต่างประเทศ พบหลักฐานเครื่องปั้นดินเผาที่วัดจุฬามณี
และพบเครื่องปั้นดินเผาที่อ่าวไทยในซากเรือสำเภาล้มอ่าวไทย เป็นหลักฐานสำคัญ วัดตาปะขาวหาย
เป็นวัดเก่าแก่ได้ก่อสร้างและตั้งวัดขึ้นในสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด
แต่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นสมัยสุโขทัยตอนต้น และตามโบราณสถาน
ปูชนียวัตถุที่ปรากฏมีอยู่คือเตาสมัยโบราณ คงจะก่อสร้างวัดขึ้นในราว พ.ศ. ๑๙๐๐
วัดตาปะขาวหายตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านฝั่งทิศตะวันออก และถูกกระแสน้ำไหลกัดเซาะตลิ่ง
จนวัดจมลงในแม่น้ำน่านสองครั้งมาแล้ว หลักฐานคือใบเสมาและใบอุโบสถปัจจุบันจมอยู่กลางแม่น้ำน่าน
สมัยก่อนไม่มีเขื่อน เวลาหน้าแล้งจะแลเห็นใบเสมาและอุโบสถ
นอกเหนือจากนั้นยังพบฐานเจดีย์ซึ่งก่อด้วยอิฐเป็นจำนวนมากที่ริมตลิ่งแม่น้ำน่าน
วัดตาปะขาวหายปัจจุบันเป็นการย้ายที่ตั้งวัดเป็นครั้งที่สามแล้ว
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต
สัมมาสัมพุท ธัสสะ (3 จบ)
นะมัตถุ วิ สิ เวส กะ โก กัส อัง
สัตตะ พุทธา นะมามิหัง
พุท ธะ สัง มิ อิ สะวา สุ
อิเมหิ สักกาเรหิ สักกัง เทวานะมินทัง ปูเชมิ
อิเมหิ สักกาเรหิ สัพพะเทเว ปูเชมิ
อิเมหิ สักกาเรหิ สัพพะเทวะตาโย ปูเชมิ
นะโม เม สัพพะเทวานัง สัพเพ เทวา มัง
ปาละยันตุ สัพพะทา
สัพพะโสตถี ภะวันตุ เม
สิทธิกิจจัง กิจจานุกิจ สิทธิกัมมัง สิทธิการิยะตะถาคะโต สิทธิลาโภ นิรันตะรัง
สิทธิเตโช ชะโย นิจจัง สัพพะสิทธิ ภะวันตุ เม
ตำบลหัวรอ อำเภอเมืองพิษณุโลก
จังหวัดพิษณุโลก 65000
หากมีโอกาสผ่านมาพิษณุโลกอย่าลืมแวะ ไหว้เทพตาปะขาว ไหว้พระวัดตาปะขาวหาย ชมโบราณสถาน ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ไหว้พระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร หนึ่งในประติมากรรมพุทธศิลป์ชั้นสูงสุดของเมืองไทยแวะไหว้พระวัดใหญ่และสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ พระราชวังจันทน์ สถานที่เสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช วัดอื่นๆรอบเมืองพิษณุโลก รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆในจังหวัด